หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สถิติการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนไทย

สถิติการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนไทย

สถิติไอเอลชี้ ภาษาอังกฤษของไทย ต่ำกว่าเพื่อนบ้าน
                เมื่อเร็วๆนี้ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ลูกศิลป์รายงานว่า บริติชเคาน์ซิลประจำประเทศไทยเปิดเผยสถิติการทดสอบสอบความรู้ภาษาอังกฤษนานาชาติ หรือที่รู้จักในชื่อไอเอล (IELTS) ในส่วนที่ใช้สำหรับสมัครเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาหรือสูงกว่าทั่วโลกประจำปี 2554 พบว่า ชาวไทยที่เข้ารับการสอบ มีผลสอบอยู่ที่ระดับ 5.5 เป็นจำนวนมากที่สุดคือ 26% ของผู้เข้าสอบชาวไทย ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวหมายถึงภาษาอังกฤษระดับปานกลาง สามารถมีการใช้ภาษาได้บางส่วนและเข้าใจความหมายกว้างในสถานการณ์ส่วนใหญ่ สามารถสื่อสารในระดับพื้นฐานที่ตนถนัดได้ แต่ยังมีข้อผิดพลาดบ่อยๆ อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศอาเซียน พบว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าทั้งประเทศฟิลิปปินส์ เวียดนาม และพม่าด้วย โดยเกณฑ์ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ระดับ 6-7 ขึ้นไป ขณะที่ประเทศที่มีค่าเฉลี่ยนสูงสุดในอาเซียนคือสิงคโปร์อยู่ที่ระดับ 8.0
          การอ่านและพูดเป็นปัญหาใหญ่สุด ไทยจะเสียเปรียบอาเซียน
                ​วันที่ 20 สิงหาคม นายวรวินชญ์ พวรสิน ผู้ให้คำปรึกษาด้านการบริการลูกค้า บริติชเคาน์ซิล สาขาสยามแสควร์ กล่าวว่า ชาวไทยได้คะแนนไอเอลโดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 5.0-6.0 ซึ่งยังไม่สามารถนำไปใช้ในการสมัครเรียนต่อหรือการทำงานได้ เพราะส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลกรวมถึงในเมืองไทยในหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษจะมีเกณฑ์การรับเข้าศึกษาต่ออยู่ที่ระดับ 6.5-7.0การสอบไอเอล จะทดสอบการพูด ฟัง อ่าน และเขียน ซึ่งทักษะการอ่านและการพูดเป็นปัญหาที่สุดของคนไทยที่ได้คะแนนต่ำเพราะคนไทยยังอาย ไม่กล้าที่จะพูด กังวลถึงการใช้ภาษาที่จะผิด ทั้งๆที่ยังไม่ได้ทดลองก่อน” นายวรวิชญ์ กล่าว
ผู้ให้คำปรึกษาด้านการบริการลูกค้า บริติชเคาน์ซิล กล่าวว่า ส่วนทักษะการอ่าน ปัญหาอยู่ที่การอ่านไม่ทันและไม่สามารถตอบคำถามตามเวลาที่กำหนดให้ได้ สองทักษะนี้เองทำให้เกณฑ์ระดับการทดสอบภาษาอังกฤษของคนไทยต่ำลง ทั้งนี้จากคะแนนดังกล่าว ทำให้การที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คนไทยจะปัญหาอย่างมาก เพราะชาติที่เข้าร่วมประชาคมอาเซียน บางชาติใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักจึงอาจทำให้เกิดการรับคนต่างชาติเข้างานและแข่งขันที่สูงขึ้น
นายเจมส์ กล่าวต่อว่า อีกปัญหาคือครูไทยสอนภาษาอังกฤษโดยใช้ท่องจำมากกว่าการสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียน อาทิ สอนให้นักเรียนลอกตามในสิ่งที่ครูสอน แต่ไม่สอนความเข้าใจให้กับผู้เรียน ที่เห็นได้ชัดเลยคือเวลาครูผู้สอนถามถึงความเป็นอยู่ของผู้เรียน นักเรียนไทยส่วนใหญ่จะตอบว่า I’m fine thank you, and you?” (ฉันสบายดี แล้วคุณล่ะ?) ทั้งๆที่บางคนก็ไม่สบายแต่ไม่กล้าพูดหรือไม่รู้จะพูดว่าอะไรเพราะสอนกันแบบท่องจำ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า นอกจากนี้ สถิติผลการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษTOEFL ประจำปี 2011 หรือ พ.ศ. 2554 จาก ETS (Educational Testing Services) พบว่า ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 116 จากทั้งหมด 163 ประเทศ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่มีความรู้ระดับต่ำ แต่ยังมีลำดับนำหน้าอยู่ 2 ประเทศในโซนอาเซียน คือ กัมพูชา และลาว ส่วนประเทศที่มีระดับความรู้ในการทดสอบภาษาอังกฤษใกล้เคียงกับประเทศไทยคือประเทศพม่าและเวียดนาม 
          แนะศธ.- สทศ.เปลี่ยนข้อสอบภาษาอังกฤษ จะทำให้เด็ก ครู โรงเรียนเปลี่ยน ระบุครูเรียนปรับวุฒิ ไม่ได้มุ่งพัฒนาเด็ก อยากเห็นรัฐบาลฟื้นโครงการทุนครู 5 ปี เน้นเด็กดี เก่งเรียนครู
          ดร.อรพรรณ วีระวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า จากงานวิจัยที่ได้ศึกษาเรื่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในเมืองไทยเพราะเหตุใดไม่ได้ผลนั้น และเด็กไทยก็ยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้แม้ว่าจะเรียนในหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กำหนดให้ได้เรียนกันตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาตอนต้น ประถมศึกษาตอนปลาย (ป.1 ป.6 ) และมัธยมศึกษาตอนตั้ง- มัธยมศึกษาตอนปลาย ( ม.1-ม.6) รวมเวลาที่เรียนภาษาอังกฤษทั้งสิ้น 12 ปีเต็มๆ แต่เด็กไทยก็ยังใช้ภาษาอังกฤษในการพูดไม่ได้ อย่าว่าแต่เด็กเลยอาจารย์ในมหาวิทยาลัยระดับด๊อกเตอร์บางคนก็ยังไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษสนทนาในชีวิตประจำวันได้ 
         เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะมาจาก Socio Linguistics ภาษาศาสตร์ทางด้านสังคมไทย มีปัจจัยที่ทำให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แม้จะเรียนมาเป็นเวลาถึงสิบกว่าปีก็ตาม สืบเนื่องจากการที่เด็กต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ เด็กละเลยที่จะเรียนพูด ครูไม่เน้นไม่ให้ความสำคัญเพราะในข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่มีการสอบพูด ครูไทยเน้นการสอบไวยาการณ์ (grammar) และการการเนื้อเรื่อง (Reading) เพื่อให้เด็กสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ แรงขับดันจากพ่อแม่ผู้ปกครองที่ลูกต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเพื่อพ่อแม่จะได้ภูมิใจ โรงเรียนเองก็ต้องการสถิติจำนวนเด็กที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ในจำนวนที่มากและแต่ละปีก็ต้องเพิ่มขึ้นๆ 
        ผลการทดสอบที่ใช้ชื่อว่า “JobStreet.com English Language Assessment” หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “JELA” ซึ่งวัดความสามารถด้านทักษะภาษาอังกฤษโดยคำถามจำนวน 40 ข้อ ที่สุ่มเลือกมาจาก 1,000 ข้อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างจากสิงคโปร์ได้คะแนนสูงที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยที่ 81 เปอร์เซ็นต์รองลงมาคือกลุ่มตัวอย่างจากฟิลิปปินส์ที่ได้ 73 เปอร์เซ็นต์, มาเลเซีย 72 เปอร์เซ็นต์, อินโดนีเซียได้คะแนนเฉลี่ย 59 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ไทยอยู่รั้งท้ายที่ 55 เปอร์เซ็นต์ หรือเกินครึ่งเพียงเล็กน้อย  สำหรับประเทศไทยนั้น ทาง จ๊อบสตรีท” เผยว่า ผู้เข้ารับการประเมินจากสายอาชีพด้านข่าว, การตลาด/การพัฒนาธุรกิจ, เลขานุการและผู้ช่วยส่วนบุคคล ได้รับคะแนนเฉลี่ยสำหรับการทดสอบภาษาอังกฤษที่สูงกว่าสายงานด้านอื่นๆ แต่ก็ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ทั้งนี้ ทีมงานของจ๊อบสตรีท ซึ่งเป็นเว็บไซต์ผู้ให้บริการหางานผ่านอินเทอร์เน็ตชื่อดัง ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1995 เป็นต้นมา ระบุว่า มีผู้เข้าร่วมการทดสอบวัดความสามารถด้านภาษาอังกฤษในครั้งนี้ทั้งสิ้น 1,540,785 คน จาก 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย รวมถึงฟิลิปปินส์

ครูฝรั่งเผย ต้องกล้าพูดถึงจะเก่ง
                นายเจมส์ เบทส์ หัวหน้าอาจารย์ประจำสถาบันสอนภาษาอังกฤษบอสตั้น ไบร์ท กล่าวว่า ปัญหาที่ตนและครูผู้สอนของสถาบันพบคือ ผู้มาสมัครเรียนภาษาอังกฤษไม่มีความกล้าที่จะพูดภาษาอังกฤษ การใช้หลักไวยากรณ์อย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่ดี แต่บางครั้งอาจจะไม่จำเป็นสำหรับการสื่อสารในบางครั้ง ทั้งนี้สิ่งที่เป็นหัวใจหลักในการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ยังเป็นปัญหากับคนไทยอยู่เสมอคือ ความไม่มั่นใจในตัวเอง ซึ่งความกล้าพูดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการสื่อสารและพูดภาษาอังกฤษสำหรับคนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก
                นายเจมส์ กล่าวอีกว่า การที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนเข้ามาสู่ประชาคมอาเซียนนั้น คนไทยจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ เนื่องจากเมื่อปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคอาเซียน ประเทศที่เข้าร่วมต่างๆ อาทิ สิงค์โปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า ต่างมีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษที่ค่อนข้างดีกว่าประเทศไทยซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันกันในอาชีพต่างๆสูงขึ้นและคนไทยจะลำบาก
 นศ.ระบุ ไทยเข้าอาเซียนมีทั้งข้อดีข้อเสีย
                นายศุภณัฐ พัฒนพันธุ์พงศ์ นักศึกษาสาขาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การที่ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนถือเป็นโอกาสที่ดีแก่คนไทย เพราะทำให้บุคลากรที่ดีสามารถเลือกงาน หรือเดินทางและทำธุรกิจในประเทศสมาชิกได้ง่ายขึ้น แต่ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นอุปสรรคต่อคนไทยเนื่องจากปัญหาทางด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษของคนไทยค่อนข้างอ่อน จุดนี้จะทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างมากขึ้นและอาจทำให้คนไทยเสียโอกาสในบางครั้ง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น